Lightning Protection System
ระบบป้องกันฟ้าผ่า หรือ สายล่อฟ้า แบบ Early Steamer Emission (ESE)
ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Early Streamer Emission (ESE) ถือว่าเป็นเทคโนโลยีของหัวล่อฟ้าที่สามารถสร้างกระแส Streamer ได้มากกว่าหัวล่อฟ้าแบบอื่น และอาศัยหลักการของอิมพีแดนซ์ต่ำ จึงทำให้มีรัศมีในการป้องกันฟ้าผ่ากว้างมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เสาล่อฟ้าสามารถป้องกันฟ้าผ่าเป็นรัศมีวงกว้าง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในงานติดตั้งสายล่อฟ้าอีกด้วย
เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันฟ้าผ่าแบบ ESE ต้องประยุกต์ใช้มาตรการในการป้องกันจากมาตรฐาน NFC17-102 และเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ตัวนำในส่วนต่างๆ ตามมาตรฐาน EN 50164-2
สายล่อฟ้า LPI แบบ ESE สามารถป้องกันอันตรายที่เกิดจากฟ้าผ่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงหลักสำคัญ ทั้ง 4 คือ
1. สามารถตรวจจับประจุฟ้าผ่าให้ลงมายังจุดที่กำหนด
2. สามารถนำประจุฟ้าผ่าลงดินได้อย่างปลอดภัย
3. ระบบกราวด์ต้องกระจายประจุฟ้าผ่าได้อย่างรวดเร็ว
4. ป้องกันการเหนี่ยวนำของกระแสฟ้าผ่าที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อบุคคล, วัตถุ อุปกรณ์ไฟฟ้าข้างเคียง
หัวล่อฟ้า LPI แบบ Early Streamer Emission (ESE) ได้รับการทดสอบใน High Voltage Laboratory พร้อมทั้ง Certificate และ Test Report ตามมาตรฐาน NFC17-102 และมีคุณสมบัติตามมาตรฐาน IEC 62561-2
เพื่อความมั่นใจให้กับทางลูกค้า ทางบริษัทยินดีมอบกรมธรรม์ประกันภัยให้กับโครงการที่ได้รับการติดตั้งระบบป้องกันฟ้าผ่า ESE โดย MEKACORP ในวงเงิน 10 ล้านบาท
ระบบป้องกันฟ้าผ่า แบบ ฟาราเดย์ (Faraday Cage)
ระบบป้องกันฟ้าผ่าแบบ Faraday Cage หรือแบบฟาราเดย์ สามารถอ้างอิงการออกแบบได้ตามมาตรฐาน วสท. 2009-59, IEC 62305-3, NFPA 780 และ ITU K.112 ซึ่งตามมาตรฐานเหล่านี้มีหลายแนวทางในการออกแบบและติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าสมัยใหม่มีรูปแบบและวัสดุให้เลือกใช้ที่หลากหลาย นอกจากการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่าที่ได้มาตรฐานแล้ว ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่นำไปติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ และทางบริษัทยังมีบริการออกแบบ ติดตั้งระบบสายล่อฟ้าแบบ ฟาราเดย์ บำรุงรักษา และตรวจสอบระบบป้องกันฟ้าผ่าอย่างครบวงจรด้วยเครื่องมือเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานสากล
ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีดังนี้
1. ระบบตัวนำล่อฟ้า (Air Termination System)
วิธีการออกแบบตำแหน่งตัวนำล่อฟ้าได้แก่ วิธีมุมป้องกัน วิธีทรงกลมกลิ้ง และวิธีตาข่าย
2. ระบบตัวนำลงดิน (Down Conductor System)
ตัวนำลงดินควรมีระยะห่างเท่าๆกัน ระหว่าง 10 ถึง 20 เมตร
รูปแบบตัวนำลงดิน: กลมตัน เทปตัน และสายตีเกลียว
3. ระบบลากสายดิน (Earth Termination System)
รูปแบบระบบลากสายดิน ได้แก่ ลากสายดินแนวรัศมีและแนวดิ่ง และลากสายดินวงแหวน / ลากสายดินฐานลาก
อุปกรณ์ป้องกันฟ้าผ่า หรือ สายล่อฟ้า LPI สามารถประยุกต์ใช้ในงานออกแบบตามมาตรฐาน วสท. 2009-59, IEC 62305-3, NFPA 780 และ ITU K.112 โดยมีคุณสมบัติต่างๆ เป็นไปตามาตรฐาน IEC 62561
ระบบแจ้งเตือนฟ้าผ่า
ระบบแจ้งเตือนฟ้าผ่า เหมาะสำหรับใช้เตือนภัยให้ผู้ที่อยู่ในที่โล่งแจ้งรับทราบ ในกรณีที่พื้นที่นั้นๆมีโอกาสเกิดฟ้าผ่าในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เพื่อจะได้มีเวลาในการเคลื่อนย้ายเข้าไปยังจุดที่ปลอดภัย
ระบบสามารถตรวจจับประจุฟ้าผ่าครอบคลุมพื้นที่ได้ในระยะไกลถึง 25 กิโลเมตร โดยจะมีสัญญาณเตือนขั้นต้นก่อนเมื่อประจุเคลื่อนเข้ามาในระยะ 10-25 กิโลเมตร ในกรณีที่ประจุเคลื่อนเข้ามาในระยะ 8-10 กิโลเมตร และมีค่าประจุเพิ่มมากขึ้น ระบบจะแจ้งเตือนออกไซเรนเพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในบริเวณตรวจจับ มีเวลาในการเคลื่อนย้ายเข้าไปยังจุดที่ปลอดภัยได้
โดยสามารถติดตั้งได้ในพื้นที่หลากหลาย อาทิ เช่น
• สนามกอล์ฟ
• เหมืองแร่
• หน่วยงานก่อสร้าง
• สนามบิน
• ท่าเรือ
• โรงไฟฟ้า
• สวนสนุก เป็นต้น

ระบบป้องกันไฟกระชาก (Surge Protection)
เมื่อเกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าลงโครงสร้างอาคารหรือสายตัวนำ และฟ้าผ่าลงใกล้เคียงอาคารหรือสายตัวนำ ผลของกระแสและแรงดันฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำเข้าสู่สายตัวนำไฟฟ้าหรือสายตัวนำสัญญาณ ทำให้มีให้มีแรงดันเกินเข้าไปยังระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหาย
หรือแม้กระทั่งแรงดันเกินที่เกิดจากระบบไฟฟ้า เช่น การเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร, การตัดต่อวงจรของระบบไฟฟ้า สามารถส่งผลให้อุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้รับความเสียหายเช่นกัน
เพื่อป้องกันความเสียหายดังกล่าวจึงต้องมีการออกแบบระบบป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ และเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จ (Surge Protective Device : SPD) ที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ ตามมาตรฐานแบ่งเป็น 3 Class ดังนี้
1. SPD Class I สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่ารูปคลื่น 10/350 µs และ 8/20 µs
2. SPD Class II สามารถรองรับกระแสฟ้าผ่ารูปคลื่น 8/20 µs
3. SPD Class III สามารถรองรับกระแสและแรงดันฟ้าผ่ารูปคลื่น 8/20 µs และ1.2/50 µs
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับสายจ่ายไฟ (Power Line Surge Protective Device)
2. อุปกรณ์ป้องกันเสิร์จสำหรับสายสัญญาณ (Data Line Surge Protective Device)
อุปกรณ์ป้องกันไฟกระโชก ไฟกระชาก หรือ เสิร์จ LPI สามารถประยุกต์ใช้ได้ตามมาตรฐาน วสท. IEC และ IEEE และได้รับการทดสอบตามมาตราฐาน IEC 61643 และ UL 1449 พร้อมทั้งผลการทดสอบและ Certificate รับรอง
ระบบสายดิน (Grounding)
การต่อลงดินเป็นเรื่องสำคัญสำหรับระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ วัตถุประสงค์ของการต่อลงดินและการต่อประสาน คือ เพื่อความปลอดภัย (Safety) และความเข้ากันได้ทางแม่เหล็กไฟฟ้า (EMC)
อุปกรณ์ต่อลงดิน สายกราวด์ หรือ สายดิน สามารถเลือกใช้วัสดุได้หลากหลาย นอกจากการเลือกใช้อุปกรณ์ต่อลงดินที่ได้มาตรฐานแล้ว ต้องเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับสภาพของดินด้วย เพื่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของระบบ
ทางบริษัทยังมีบริการออกแบบ ติดตั้ง บำรุงรักษา และตรวจวัดความต้านทานดินและความต้านทานจำเพาะของดิน เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบ
สิ่งที่ควรนึงถึงเพื่อระบบสายดินที่ดี
• สายดินต้องมีความต่อเนื่องทางไฟฟ้าได้ดี และมีค่าความต้านทานดินที่ต่ำตามมาตรฐาน
• กราวด์หรอด (Ground Rod) ที่ได้มาตรฐาน เพื่อการนำไฟฟ้าที่ดีและทนต่อการกัดกร่อนได้ดี
• สายตัวนำในดินควรเชื่อมต่อแบบ Permanent connection โดยใช้วิธี Exothermic welding หรือ Welding หรือ Compression กรณีเชื่อมต่อด้วยวิธี Clamping ควรมีมาตรการป้องกันการกัดกร่อนเพิ่มเติม
• มีขนาดของสายดินเพียงพอสำหรับการนำกระแสลัดวงจร ทุกชนิดที่อาจเกิดขึ้นในระบบได้อย่างปลอดภัย
• มีอิมพีแดนซ์ต่ำเพียงพอที่จะจำกัดแรงดันไฟฟ้า วัดเทียบกับดินไม่ให้สูงเกินไป และช่วยให้เครื่องป้องกันกระแสเกินในวงจรทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ต้องมีมาตรการป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดจากการเชื่อมต่อวัสดุอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกัน
อุปกรณ์ต่อลงดิน (สายดิน) LPI สามารถประยุกต์ใช้ในงานออกแบบตามมาตรฐาน วสท. IEC, BS EN, NEC และ IEEE โดยมีคุณสมบัติต่างๆ เป็นไปตามาตรฐาน IEC 62561 และ UL 467 พร้อมทั้งผลการทดสอบและ Certificate รับรอง
เพราะความปลอดภัยรอไม่ได้
เรามุ่งเน้นในเรื่องของการให้บริการ จำหน่าย ติดตั้ง ระบบป้องกันฟ้าผ่า รับประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการส่งมอบงานที่ตรงเวลา